ฝุ่น ควัน

หัวข้อ

ฝุ่น ควัน

ฝุ่น ควัน นี่เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบ เช่น ไซนัสอักเสบ รวมถึงผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้จากควันและมลพิษทางอากาศมีอาการรุนแรงขึ้น เยื่อบุจมูกของผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบจะไวต่อสิ่งกระตุ้นรวมทั้งสารก่อภูมิแพ้อย่างผิดปกติ และสารที่ไม่ก่อให้เกิดการแพ้ สำหรับผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบจากมลพิษทางอากาศประเภทต่างๆ นั้น สามารถแนะนำได้ดังนี้ เยื่อบุจมูกอักเสบ, บวมน้ำเพิ่มขึ้น

หากเยื่อบุจมูกบวมอยู่เป็นระยะเวลานาน อาจอุดกั้นรูเปิดของไซนัส ทำให้เกิดไซนัสอักเสบตามมาได้ หรือทำให้เยื่อบุรอบท่อยูสเตเชียน (ท่อเชื่อมต่อระหว่างหูชั้นกลาง และโพรงหลังจมูก มีหน้าที่ช่วยปรับความดันของหูชั้นกลางให้เท่ากับบรรยากาศภายนอก) บวม ทำให้มีการทำงานของท่อยูสเตเชียนที่ผิดปกติ และนำไปสู่โรคหูชั้นกลางอักเสบแบบมีน้ำขัง หรือหูชั้นกลางอักเสบเฉียบพลันได้อีกด้วย

ฝุ่นควัน แบบไหน อันตรายกับผู้ป่วยไซนัสอักเสบ

ฝุ่น ควัน จากการวิจัยพบว่าฝุ่นละอองที่ก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพเป็นฝุ่นละอองขนาดเล็ก ที่มีขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน โดยฝุ่นละอองขนาดเล็กนี้สามารถเข้าไปในระบบทางเดินหายใจผ่านโพรงจมูกเข้าไปถึงถุงลมในปอด ทำให้เกิดการอักเสบ และการระคายเคืองเรื้อรัง และฝุ่นละอองจะมีพิษมากขึ้น หากฝุ่นละอองนั้นเกิดจากการรวมตัวของก๊าซบางชนิด เช่น:

  • สารมลพิษซัลเฟอร์ไดออกไซด์ มีผลกระทบต่อสุขภาพ คือลดประสิทธิภาพการทำงานของปอด และผู้ที่เป็นโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจมีอาการมากขึ้น เมื่อหายใจเข้าไป มลพิษชนิดนี้จะแพร่ฟุ้งกระจายเข้าเส้นเลือดได้ทันที และหากได้รับซัลเฟอร์ไดออกไซด์และซัลเฟอร์ไตออกไซด์ ขนาด 5-10 ppm.จะมีทำให้เกิดการระคายเคืองต่อตา และระบบทางเดินหายใจ
  • สารมลพิษโอโซน มีผลต่อสุขภาพคือ ระคายเคืองตา จมูก และคอ แน่นหน้าอก และไอที่เกิดจากการเจ็บปวดเมื่อหายใจ
  •  สารพิษออกไซน์ของไนโตรเจน โดยเฉพาะไนโตรเจนมอนอกไซด์ และไนโตรเจนดออกไซน์ หากได้รับในปริมาณ 10 ppm. สัมผัสนานกว่า 8 ชั่วโมง จะทำลายปอด ทำให้เกิดปอดบวม และหากได้รับรับในปริมาณ 20-30 ppm. อาจทำให้เสียชีวิตได้ หรือเพิ่มความเสี่ยงโรคทางเดินหายใจในเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี
  • สารมลพิษสารไฮโดรคาร์บอน มีผลต่อสุขภาพคือ สารมลพิษนี้จะทำปฏิกิริยาโฟโตเคมิคัล กลายเป็นหมอกผสมควัน ซึ่งประกอบไปด้วยโอโซน และออกซิแดนซ์ต่างๆ ก่อให้เกิดการระคายเคืองตา

ปัจจัยอื่นที่ทำให้กระตุ้นการเกิด “ไซนัสอักเสบ”

ฝุ่น ควัน นอกจากมลพิษในอากาศ การเปลี่ยนแปลงของอากาศอย่างรวดเร็วตามธรรมชาติก็มีผลต่อผู้ป่วยเช่นกัน และอีกปัญหาที่อาจจะมองข้ามไปคือ ภาวะมลพิษทางอากาศภายในบ้านก็มีโอกาสเกิดได้ เช่น จากการใช้เตาอบ เตาแก๊ส ในที่อากาศถ่ายเทไม่ดี หรือ พิษจากควันบุหรี่ ฝุ่นภายในบ้าน ตัวไรในฝุ่นในบ้าน เกสรพืช ชิ้นส่วน หรือสิ่งขับถ่ายของแมลงที่อาศัยอยู่ในบ้าน เช่น แมลงสาบ ยุง แมลงวัน มด สารก่อภูมิแพ้ที่สำคัญที่สุดในฝุ่นคือ ตัวไรฝุ่น นอกจากนี้ การว่ายน้ำสระที่ใส่น้ำยาคลอรีน หรือฆ่าเชื้อด้วยโอโซนอาจทำให้มีโอกาสเป็นไซนัสอักเสบเกิดขึ้น เพราะส่งผลให้เกิดการระคายเคืองของเยื่อบุโพรงจมูก

การป้องกันตัวเองจากมลพิษ ฝุ่น ควันในอากาศ

ฝุ่น ควัน ในส่วนของมลพิษ หมอก ฝุ่น ควันในอากาศนอกบ้าน การป้องกันที่สามารถทำได้คือ การใส่หน้ากากอนามัยป้องกันเขม่าควัน และฝุ่นละออง หลีกเลี่ยงการเข้าไปในบริเวณที่มีการจราจรแออัด หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายใดๆ หรือกิจกรรมที่ต้องออกแรงมากในบริเวณกลางแจ้ง หรือบริเวณที่มีฝุ่นควัน ผู้ที่เป็นไซนัสอักเสบควรหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นที่จะทำให้เกิดอาการหวัด ภูมิแพ้ เพราะคนส่วนใหญ่ที่ป่วยเป็นไซนัสอักเสบ มักเกิดมาจากโรคภูมิแพ้ของจมูก ดังนั้น หากรู้ว่าอะไรเป็นปัจจัยกระตุ้นให้เกิดโรคภูมิแพ้ ก็ควรหลีกเลี่ยง หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ ดื่มน้ำมากๆ พักผ่อนให้เพียงพอ และอยู่ในสถานที่ที่มีอากาศถ่ายเท

ทำไม… การแก้ปัญหาหมอกควันฝุ่นพิษ ของรัฐจึงล้มเหลว

ความจริงแล้วคนไทยสูดฝุ่นพิษมานานแล้วกว่า 20 ปี ตั้งแต่ยังไม่มีเครื่องตรวจวัดปริมาณฝุ่น PM 2.5 และเริ่มมีการสร้างการรับรู้ถึงความอันตรายต่อเนื่องและต้องเผชิญกับฝุ่นพิษทุกปี อย่างไรก็ตาม แม้จะมีความพยายามขับเคลื่อนและแก้ปัญหาในทุกภาคส่วน แต่ทำไมวันนี้เรายังสูดฝุ่นพิษเท่าเดิม นำมาสู่คำถามถึงการแก้ปัญหาของรัฐไทยว่าล้มเหลวจริงหรือไม่

ที่ผ่านมา GISTDA ได้เก็บข้อมูลจากดาวเทียมและพบว่าประเทศไทยเผชิญฝุ่นละอองขนาดเล็ก และ PM 2.5 มายาวนาน ข้อมูลจากดาวเทียมบางส่วนระบุแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นของ PM 2.5 ในประเทศไทยช่วงปี 2541 – 2559 มีค่าความเข้มข้นกระจุกในพื้นที่ภาคเหนือค่อนข้างมาก โดยเฉพาะน่าน พะเยา เชียงใหม่ เชียงราย และแม่ฮองสอน ซึ่งอยู่ในจุดเสี่ยงที่ค่าฝุ่น PM 2.5 เกินมาตรฐานมานานเกือบ 20 ปี ข้อมูลดังกล่าวถือเป็นข้อมูลเชิงสถิติที่เก็บมาตั้งแต่ประเทศไทยยังไม่มีการนำเครื่องมือวัดเข้ามาเมื่อ 2-3 ปีก่อนที่เพิ่งจะมีเครื่องวัดค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก

ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ถือเป็นวาระแห่งชาติที่หลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเร่งแก้ไขปัญหาให้คลี่คลาย จริงอยู่ว่าการแก้ไขอาจต้องใช้เวลา แต่เราในฐานะพลเมืองควรร่วมมือกันในการลดกิจกรรมที่ทำให้เกิดฝุ่น และร่วมติดตามคุณภาพอากาศอย่างสม่ำเสมอ เพื่อประเมินความเสี่ยง ฝุ่น PM 2.5 สามารถเข้าสู่ร่างกายได้ง่าย ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากแหล่งอุตสาหกรรม โรงงานอุตสาหกรรม แหล่งก่อสร้างประเภทต่าง ๆ การเผาไหม้ของเชื้อเพลิง การเผาไหม้ของเครื่องยนต์ การเผาในที่โล่งจำพวกพื้นที่ป่าไม้ พื้นที่เกษตร และกองขยะ ซึ่งส่วนมากจะเป็นการเผาไหม้ที่สมบูรณ์และไม่สมบูรณ์ จนเกิดเป็นละอองหรืออนุภาคต่าง ๆ

 

บทความที่เกี่ยวข้อง