อากาศ pm 2.5

หัวข้อ

อากาศ pm 2.5

อากาศ pm 2.5 ค่ามาตรฐาน PM 2.5 ในบรรยากาศทั่วไป หรือเรียกง่าย ๆ ว่าค่าฝุ่น PM2.5 คือ การกำหนดขึ้นเพื่อบ่งชี้ความเข้มข้นของการปล่อยฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอนในบรรยากาศ มีหน่วยเป็น ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร โดยคิดค่าเฉลี่ยราย 24 ชั่วโมง และรายปี แต่รู้ไหมว่าแท้จริงแล้วค่ามาตรฐาน PM2.5 ที่ไทยใช้หย่อนยานกว่าที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศล่าสุด! ยิ่งไปกว่านั้นปีนี้องค์การอนามัยโลกปรับค่าแนะนำลงอีกเป็นครั้งแรกในรอบ 15 ปี ทำให้ค่ามาตรฐานของไทยยิ่งห่างไกลจากค่าแนะนำของ WHO ถึง 3-5 เท่าไปใหญ่

ค่ามาตรฐานคุณภาพอากาศเฉลี่ยรายปีของประเทศไทยอยู่ที่ 25 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ส่วนองค์การอนามัยโลกแนะนำเฉลี่ยรายปีของ PM2.5 ไม่เกิน 5 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ค่ามาตรฐานคุณภาพอากาศเฉลี่ย 24 ชั่วโมงของประเทศไทยอยู่ที่ 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ในขณะที่ค่าแนะนำขององค์การอนามัยโลกอยู่ที่ 15 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ฉะนั้นการที่ค่ามาตราฐาน PM2.5 ของไทยมีค่าที่สูงกว่าค่าแนะนำของ WHO จึงไม่สามารถควบคุมและลดการปล่อยมลพิษจากแหล่งกำเนิดต่างๆ อีกทั้งเปิดช่องให้กับผู้ปล่อยมลพิษมากกว่าที่จะคุ้มครองสิทธิของประชาชนในการเข้าถึงอากาศสะอาด

อากาศ pm 2.5 ค่า AQI คืออะไร

อากาศ pm 2.5 ค่า AQI (Air Quality Index) คือ ข้อมูลการวัดคุณภาพอากาศในภาพรวมที่ประกอบด้วยมลพิษทางอากาศ 6 ชนิด ได้แก่ ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10) โอโซน (O3) คาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) ไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2) ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2)

ค่าฝุ่น PM2.5 สำคัญยังไง

การวัดค่า AQI คือการใช้ตัวเลขจากการวัดค่า PM2.5 มาร่วมคำนวนด้วย ค่าฝุ่น PM2.5 จึงเป็นหนึ่งในตัวแปรสำคัญที่ส่งผลต่อการคำนวนค่าดัชนีคุณภาพอากาศ AQI ทั้งนี้ การวัดค่า AQI และ PM2.5 จะโชว์ตัวเลขและสีในการแบ่งระดับการเตือนภัย เพื่อให้ประชาชนรับรู้ทราบระดับความรุนแรงและของความเสี่ยงต่อสุขภาพนั่นเอง

การแก้ปัญหาฝุ่น PM2.5 คืออะไร

อากาศ pm 2.5 กรีนพีซจึงเรียกร้องให้รัฐปรับค่ามาตรฐานคุณภาพอากาศให้เข้มข้นขึ้นเพื่อยกระดับการเตือนภัยแก่ประชาชน รวมไปถึงทำให้หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนต่างๆต้องยกระดับนโยบายของตัวเอง เช่น ปลดระวางถ่านหิน ตรวจวัดมลพิษ PM 2.5 จากปลายปล่องโรงงานอุตสาหกรรม ลดการเผาในที่โล่ง ปรับปรุงระบบขนส่งมวลชนเพื่อลดปริมาณฝุ่น PM2.5 ให้สอดคล้องกับค่ามาตรฐานใหม่นั่นเอง

ฝุ่น PM 2.5 มีผลเสียต่อร่างกายอย่างไรบ้าง?

อากาศ pm 2.5 ในวันที่อากาศไม่ดี มีค่าฝุ่นมลพิษสูง หลายคนคงรู้สึกแสบตา แสบจมูก เจ็บคอ ระบบที่มีผลกระทบมาก คือระบบทางเดินหายใจ เมื่อหายใจเอาฝุ่น PM2.5เข้าไป จะรู้สึกแสบจมูก ไม่สบาย ไอและมีเสมหะได้ ในคนไข้ที่มีโรคประจำตัว เช่นโรคภูมิแพ้,โรคปอด (เช่น หอบหืด, ถุงลมโป่งพอง) ต้องระวังสุขภาพเป็นพิเศษ เนื่องจากฝุ่นนี้จะทำให้โรคกำเริบได้ง่าย ในระยะยาวมีผลทำให้เกิดโรคมะเร็งปอดและ โรคระบบหัวใจและหลอดเลือดได้
นอกจากนี้ยังทำลายผิวของเราได้ด้วย ผิวหนังเป็นอวัยวะที่ห่อหุ้มร่างกาย จึงหลีกเลี่ยงที่จะเผชิญฝุ่นมลพิษได้ยาก

ฝุ่น PM 2.5 มีผลเสีย หรืออันตรายต่อผิวอย่างไรบ้าง?

เนื่องจากฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กมากๆ เล็กกว่าขนาดของรูขุมขน จึงสามารถซึมผ่านเข้าผิวหนัง ทำให้เกิดผื่นผิวหนังอักเสบ มีอาการแดงคัน ระคายเคืองผิว โดยเฉพาะคนที่มีปัญหาผิวแพ้ง่าย โรคภูมิแพ้ผิวหนัง จะมีผื่นกำเริบได้ง่าย ผิวหน้ามันขึ้น น้ำมันบนหน้าและฝุ่นจะทำให้เกิดการอุดตันของผิว และก่อให้เกิดสิว กระตุ้นการเกิดอนุมูลอิสระที่จะทำลายผิว ทำให้เกิดริ้วรอยเหี่ยวย่นก่อนวัย และจุดด่างดำ เมื่ออากาศที่เราจำเป็นต้องสูดหายใจเข้าไปทุกวันๆนั้นเต็มไปด้วยฝุ่นมลพิษทำลายร่างกาย

เราจะป้องกัน และดูแลตนเองอย่างไรดี?

หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้ง ควรอยู่ในบ้านหรือในอาคารที่มีเครื่องฟอกอากาศชนิดที่มีHEPA filter เมื่อจำเป็นต้องออกนอกบ้าน ควรสวมใส่หน้ากากชนิดที่สามารถกันฝุ่นPM2.5ได้ และใส่ให้ถูกวิธี รักษาสุขภาพให้แข็งแรง โดยการพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกาย ทานอาหารให้ครบ5หมู่ ทานผลไม้หรือวิตามินที่สารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) เช่นวิตามินซี ดื่มน้ำสะอาดเพื่อช่วยในการขับสารพิษจากร่างกาย

การดูแลปกป้องผิวหนังจากฝุ่น PM 2.5 ทำได้อย่างไร?

ควรทำความสะอาดผิว/ล้างหน้าให้สะอาดทันที ภายหลังจากต้องสัมผัสกับฝุ่นมลพิษ ใส่เสื้อผ้าแขนยาว เพื่อปกป้องผิวไม่ให้ระคายเคือง และลดการเห่อของผื่น ทาครีมบำรุงผิว เพื่อให้ความชุ่มชื้นและทำให้เกราะป้องกันของผิวแข็งแรงขึ้น หากป้องกันผิวดีแล้ว แต่ยังเกิดปัญหาผิวหนัง แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญนะคะ นอกจากนี้พวกเราควรช่วยกันลดการสร้างฝุ่นมลพิษนี้ โดยการพยายามลดการใช้รถยนต์ส่วนตัว ใช้ขนส่งสาธารณะแทน หรือหากจำเป็นต้องใช้รถยนต์ส่วนตัว ก็พยายามเดินทางพร้อมๆ กันหลายๆคน ลดการเผาขยะ/กระดาษ/หญ้า, สูบบุหรี่ ช่วยกันปลูกต้นไม้เพื่อช่วยดูดซับฝุ่นมลพิษ

ทำความรู้จักฝุ่นพิษ PM 2.5

เป็นเรื่องปกติที่เมืองใหญ่อย่างกรุงเทพฯ และเมืองหลวงของอีกหลายประเทศทั่วโลกต้องเผชิญปัญหามลพิษจากฝุ่นละอองในอากาศอยู่เสมอ ด้วยประชากรหนาแน่น ความคับคั่งของการจราจร รวมถึงเขม่าควัน และฝุ่นผงจากการก่อสร้าง

แต่ปัญหาวิกฤติที่ชาวกรุงเทพฯ กำลังวิตกคือ ฝุ่นละอองขนาดเล็กว่า 2.5 ไมครอน (Particulate Matter 2.5 – PM2.5) ซึ่งไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ทำให้ขาดความตระหนักถึงอันตรายต่อสุขภาพอย่างใหญ่หลวง ฝุ่นละอองจิ๋ว PM 2.5 ส่วนใหญ่เกิดจากการเผาไหม้เครื่องจักร โดยเฉพาะเครื่องยนต์ของทั้งรถยนต์ใหม่และเก่า มักมีปริมาณสูงสุดช่วงรถติดมากๆ ในช่วงเช้าและเย็นของวันทำงาน โดยมากจะเกิดในช่วงฤดูหนาวที่อากาศนิ่งและแห้ง ส่งผลให้ฝุ่นไม่ลอยขึ้นที่สูง อีกทั้งปัจจุบันกรุงเทพฯ กำลังประสบปัญหาลมพัดผ่านได้ยาก อากาศหยุดนิ่ง เนื่องจากมีตึกสูงปิดกั้นทางลม รวมถึงฝุ่นจากการก่อสร้างที่มีอยู่แทบทุกพื้นที่ มาเป็นปัจจัยเกื้อหนุนทำให้คุณภาพอากาศเลวร้ายลง

นอกจากนี้ นักวิชาการสิ่งแวดล้อมให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 ในกรุงเทพฯ ที่สำคัญเกิดจากไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2) ถูกปล่อยสู่อากาศมากมายจนเกิดการทำปฏิกิริยาทางเคมีกับโอโซนและแสงแดด กลายเป็นฝุ่นผงขนาดเล็กที่เป็นปัญหา

 

บทความที่เกี่ยวข้อง